Wednesday 2 February 2011

IT Learning Journal Week11: 02/02/11

Business Intelligence (ต่อ)
Web Mining
เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของ text mining ที่เกิดขึ้นบน web ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการใช้งานของ website มากขึ้น เช่น แนะนำ link/new product ที่น่าสนใจแก่ผู้ใช้งาน โดยอาศัยการเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานต่างๆใน server ซึ่ง web mining นั้นสามารถทำได้ใน 3 รูปแบบ
1.       Web content mining ดูว่าใน web นั้นมี content ใดที่ผู้ใช้ให้ความสนใจ
2.       Web structure mining ดูว่าในหน้า website นั้นมีการดีไซน์อย่างไร มี link อะไรที่น่าสนใจอยู่บ้าง
3.       Web usage mining การเก็บข้อมูลจาก clickstream ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลของผู้ใช้ว่ามีจำนวนเท่าไหร่และมีการเยี่ยมชมหน้าใดใน website บ้าง ทำให้สามารถทราบพฤติกรรมของผู้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้นและสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้
Strategic Information System Planning (การวางแผนการใช้ระบบ IT)
ในการเริ่มใช้ระบบสารสนเทศในองค์กรนั้น ส่วนใหญ่มักเริ่มจากระบบที่ใช้สำหรับการดำเนินงานหลักขององค์กร แต่อย่างไรก็ตามเมื่อองค์กรได้มีการเติบโตหรือพัฒนาขึ้น ระบบสารสนเทศนั้นก็ต้องมีการพัฒนาหรือปรับปรุงตามไปเช่นกัน ซึ่งในการพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์กรนั้นจะต้องมีการวางแผนการใช้ระบบที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในการวางแผนนั้นต้องมีการประเมินว่าองค์กรนั้นต้องการระบบสารสนเทศใดบ้าง และต้องใช้วิธีการใดในการได้มา รวมทั้งเมื่อไหร่ที่จะนำระบบดังกล่าวมาใช้ในองค์กร
IS/IT Planning
เป็นการวางแผนระบบสารสนเทศเบื้องต้น โดยการกำหนด Infrastructure และ Applicationต่างที่เหมาะสมกับการใช้งานในทุกระดับขององค์กร ซึ่งในการวางแผนระบบสารสนเทศนี้จะต้องมีการคำนึงถึงวัตถุประสงค์ขององค์กรด้วยว่า ความสามารถของระบบสารสนเทศนั้นสามารถที่จะตอบสนองวัตถูประสงค์ขององค์กรได้หรือไม่
Four stage model of IS/IT Planning
เป็น guide line สำหรับการทำแผน โดยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนหลัก คือ
1.       Strategic Planning เป็นการกำหนดกลยุทธ์ โดยการหาความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายขององค์กรและระบบสารสนเทศที่สำคัญที่ต้องใช้ในการตอบสนองเป้าหมายดังกล่าว
a.       Set IS mission โดยดูมุมมองการใช้ระบบสารสนเทศ ว่าองค์กรนั้นใช้ ITเป็นกลยุทธ์หลักหรือเป็นเพียงเครื่องมือสนับสนุนกลยุทธ์อีกที
b.       Access environment ประเมินสิ่งที่องค์กรนั้นมีอยู่ในปัจจุบันว่ามีอะไรบ้าง สามารถสร้างปัญหาอะไรได้บ้างและยังมีจุดไหนที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง เช่น ประเมินความสามารถของระบบสารสนเทศเดิม, โอกาสทางธุรกิจใหม่, สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง, วงจรการใช้งานจองระบบสารสนเทศที่มีอยู่ รวมทั้ง skill ของผู้ใช้งานระบบ เป็นต้น
c.        Access organizational objectives strategies โดยการทบทวนกลยุทธ์ขององค์กรว่าเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมปัจจุบันหรือไม่ รวมทั้งประเมินว่ากลยุทธ์องค์กรใดที่ต้องอาศัยระบบสารสนเทศในการสนับสนุนและ ปัจจุบันนั้นกลยุทธ์ดังกล่าวมีระบบสารสนเทศตอบสนองหรือไม่
d.       Set IS policies, objectives, strategies ตอบคำถามเกี่ยวกับองค์กรว่าองค์กรนั้นให้ความสำคัญกับระบบสารสนเทศมากเท่าใด โดยพิจารณาโครงสร้างขององค์กรว่า IS นั้นอยู่ในตำแหน่งใดของโครงสร้างองค์กร หาก IS นั้นมีระดับที่เล็กเท่าไหร่ย่อมแสดงให้เห็นว่า สำหรับองค์กร IS เป็นสิ่งที่ไม่สำคัญ ทำให้การใช้ IS เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์ขององค์กรยิ่งยากขึ้น
2.       Organizational Information Requirements analysis กำหนดระบบสารสนเทศที่ต้องใช้ในการดำเนินกลยุทธ์
a.       Access organization’s information requirements ประเมินความต้องการของระบบสารสนเทศในปัจจุบันและในอนาคตขององค์กร และทำการจัดกลุ่มข้อมูลต่างๆเพื่อนำไปประเมินต่อไปว่าควรใช้ระบบสารสนเทศอะไรรองรับ
b.       Assemble master development plan นำข้อมูลจากข้อ a มากำหนดระบบสารสนเทศทั้งหมดที่องค์กรต้องการใช้ และสิ่งที่ระบบช่วยสร้าง รวมทั้งจัดลำดับความสำคัญของการได้มาของระบบสารสนเทศดังกล่าว โดยต้องมีการคำนึงถึงความพร้อมของเงินทุน บุคลากรและเทคโนโลยี
3.       Resource Allocation Planning
a.       Develop resource requirements plan ประเมินทรัพยากรสำคัญที่ต้องใช้กับระบบสารสนเทศที่เราต้องการ โดยกำหนดส่วนที่เป็น Infrastructure และ Application มีการคำนึงถึงสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มเติมเพื่อรองรับกับระบบสารสนเทศใหม่ เช่น ห้องหรือโต๊ะที่ใช้ในการติดตั้ง Server การติดตั้งสาย Network และกำลังไฟที่เหมาะสม รวมทั้งคำนึงถึงลักษณะผู้ใช้งานด้วย โดยทรัพยากรที่ต้องการใช้เหล่านี้จะต้องมีการตีราคาเป็นตัวเงินทั้งหมดเพื่อหา cost per application
4.       Project Planning ประเมินความคุ้มค่า
a.       Evaluate project and develop project plans ประเมินความคุ้มค่าของโครงการ โดยพิจาณาถึงต้นทุนและความต้องการระบบสารสนเทศขององค์กรว่าเหมาะสมหรือไม่ รวมทั้งระบุหน้าที่งานที่ต้องทำ
The Business Systems Planning Model (BSP)
การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดขององค์กร ผ่านการวิเคราะห์ Business Processes (Across Functional) ว่าแต่ละกระบวนการนั้นมีการเกิดหรือใช้ Data Classes อะไรบ้าง ซึ่งช่วยสะท้อนระบบการทำงานขององค์กรรวมทั้งการไหลของข้อมูลภายในขององค์กรได้ชัดเจนขึ้น ทำให้ข้อมูลนั้นยังคงอยู่แม้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร โดย BSP นั้นมีขั้นตอนดังนี้
1.       Gaining Commitment ของบุคลากรทั้งหมดในองค์กร
2.       Defining Business Process
3.       Defining Data Classes
4.       Analyzing Current Systems Support ประเมินสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน
5.       Determining the executive expectation สอบถามความต้องการในอนาคตจากผู้บริหารระดับสูง
6.       Defining Findings and Conclusions สิ่งที่ต้องทำเพิ่ม
7.       Defining Info Architecture (หลายระบบ)
8.       Determining Architecture Priorities จัดลำดับความสำคัญของระบบ
9.       Developing recommendations and Action Plan

·        ข้อดีของ BSP เห็นภาพการทำงาน มีขั้นตอนที่ชัดเจน เหมาะกับองค์กรที่ไม่เคยมีการวางแผนมาก่อน
·        ข้อเสียของ BSP ใช้เวลาและข้อมูลจำนวนมาก

Critical Success Factors (CSF)
เป็นการมุ่งวางแผนไปที่ critical success factor(CSF) ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ช่วยให้องค์กรยังคงอยู่และประสบความสำเร็จ ซึ่ง CSF ในแต่ละอุตสาหกรรมนั้นก็แตกต่างกันไป โดย CSF นั้นมีขั้นตอนดังนี้
1.       สัมภาษณ์หรือสอบถามความต้องการของผู้บริหารระดับสูง
2.       Aggregate and Analyze Individual CSFs รวบรวมและวิเคราะห์ความเห็นที่แตกต่างของผู้บริหาร
3.       Develop Agreement on Company CSFs วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลที่ได้
4.       Define Company CSFs หาข้อสรุปและระบุ CSF ขององค์กร
a.       Define DSS and Database
b.       Develop IS Priorities ระบุความสำคัญของระบบสารสนเทศที่ต้องการ

No comments:

Post a Comment