Monday 31 January 2011

IT Learning Journal Week10: 01/02/11

Enterprise System : Supply Chain Mngt. And Enterprise Resource Planning
            ระบบสารสนเทศแบบเดิมที่องค์กรใช้อยู่นั้นมักประสบปัญหาที่ว่า ข้อมูลนั้นกระจัดกระจายไปทั่วองค์กรเนื่องจากแต่ละแผนกในองค์กรนั้นมีระบบสารสนเทศเป็นของตนเอง ดังนั้นจึงส่งผลให้การรับส่งข้อมูลภายในองค์กรนั้นบางครั้งจึงขาดประสิทธิภาพ หรือได้รับข้อมูลไม่ทันต่อเวลา ซึ่งอาจส่งผลต่อการดำเนินงานขององค์กร เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว Enterprise system จึงเกิดขึ้น โดยแบ่งเป็น 6 ระบบ
·        Enterprisewide Systems แบ่งเป็น
o   ERP ช่วยในการบริหารข้อมูล และทรัพยากรต่างๆในองค์กร
o   CRM ช่วยในการสื่อสารระหว่างองค์กรกับลูกค้า
o   Knowledge Management System(KM) คอยเก็บข้อมูลต่างๆในองค์กร
o   Supply Chain Management(SCM) ระบบที่ช่วยในการบริหารสายการผลิต
o   Decision Support System(DSS) ให้ข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจขงผู้บริหาร
o   Business Intelligence(BI) ระบบที่ช่วยสนับสนุนการทำงานต่างๆในองค์กร
Supply Chain Management Systems
            เป็นระบบสารสนเทศที่เข้ามาช่วยในการบริหารข้อมูลต่างๆภายในสายงานการผลิตขององค์กรตั้งแต่การสั่งซื้อสินค้าจาก supplier จนสินค้าดังกล่าวได้ถูกผลิตและขายสู่มือลูกค้า โดย SCM นี้เข้ามาช่วยให้ข้อมูลนั้นมีการ flow ไปอย่างทั่วถึงทำให้การทำงานในสายการผลิตนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ตัวอย่างระบบ
-          Warehouse Management System ระบบที่ช่วยในการจักการคลังสินค้า ว่าควรจัดวางอย่างไรให้สามารถใช้พื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
-          Inventory Management System
-          Fleet Management System เป็นระบบที่ช่วยในการติดตามการขนส่งสินค้า
-          Vehicle routing and planning เป็นระบบที่ช่วยจัดการเส้นทางในการขนส่งสินค้า
-          Vehicle base system
10 IT Trends for Logistics Supply Chain Management
1.       Connectivity เช่น Bluetooth GPRS
2.       Advance Wireless : voice and GPS เป็น wireless แบบ advance โดยมีการใช้เสียง
3.       Speech Recognition การสั่งงานด้วยเสียง ทำให้สะดวกสบายมากขึ้น เป็นประโยชน์สำหรับผู้พิการ
4.       Digital Imaging เป็นการประมวลผลภาพแบบดิจิตอล
5.       Portable Printing
6.       2D and Other Barcoding Advances
7.       RFID เป็น tag ที่ติดอยู่กับสินค้าทำให้สะดวกสบายมากขึ้นในการติดตามสินค้า
8.       Real Time Location System ระบบที่ใช้ในการติดตามสินค้า
9.       Remote Management การจัดการทางไกล โดยใช้ระบบ LAN ไร้สายในการติดตามสิค้าจากคลังและโรงงาน
10.    Security ความปลอดภัยของอุปกรณ์และเครือข่ายไร้สาย
Collaborative Planning
            เป็นระบบที่ช่วยในการ share ข้อมูลต่างๆในสายการผลิต ไม่ว่าจะเป็นแผนการผลิต การจัดจำหน่าย และการไหลเวียนของสินค้าให้ตรงกัน ทำให้องค์กรนั้นใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดสิค้าคงคลัง และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้เพิ่มขึ้น
Vendor Managed Inventory (VMI)
            เป็นระบบที่มีการแชร์ข้อมูลระหว่างองค์กรและ supplier โดยระบบสินค้าคงคลังนั้นจะมีการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องจาก supplier หากสินค้านั้นลดลงถึงระดับที่ตั้งไว้จะมีการส่งใบคำสั่งซื้อแก่ supplier โดยอัตโนมัติ ทำให้สามารถบริหารการผลิตได้ดีขึ้นและลดสินค้าคงคลังได้
E-Business Systems & Supply Chains
SCM สามารถช่วยเพิ่มคุณค่าแก่องค์กรได้ดังนี้
-          ทำให้สามารถวางแผนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
-          ลดความเสี่ยงในการบริหารจัดการ
-          การเก็บสินค้าในคลังสินค้าลดลง
-          สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-          เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและทำให้บริษัทได้ผลกำไรมาขึ้น
Enterprise Resource Planning (ERP) Systems
เป็นระบบที่ช่วยในการวางแผนจัดการ และบริหารการใช้ทรัพยากรทุกประเภทในองค์กรทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยโปรแกรมประยุกต์แต่ละชุดที่ใช้ประมวลผล Back-end Operations โดยอัตโนมัติเพื่อจัดการงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับหลายแผนกในองค์กร เช่น ERP จะมี Module สำหรับการควบคุมต้นทุน ระบบลูกหนี้ เจ้าหนี้ และสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนต่างๆ โดย ERP จะช่วย Coordinate การดำเนินงานต่างๆ ของแต่ละแผนกในองค์กร ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ผลลัพธ์ และความสามารถในการทำกำไร อีกทั้งยังช่วยให้บริษัทสามารถเข้าถึงข้อมูลอย่างทันเวลา ซึ่งช่วยให้องค์กรนั้นสามารถลดต้นทุนได้ โดยตัวอย่างระบบ ERP Software เช่น SAP, Oracle, PeopleSoft เป็นต้น
Major ERP Modules
·        Sales and Distribution (Records customer orders, shipping, billing etc.)
·        Material Management (Acquisition and management of goods from vendors)
·        Financial Accounting
·        Human Resources (Recruiting, payroll, training, benefit)
Third-Party Module ตัวอย่างเช่น
·        Customer Relationship Management (CRM) สร้างและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าขององค์กร
·        Customer Self-Service (CSS) ช่วยให้ลูกค้าสามารถดำเนินการซื้อสินค้าได้ด้วยตนเอง
·        Sales Force Automation (SFA) ระบบขายอัตโนมัติ
·        Supply Chain Management (SCM)
·        Product Lifecycle Management (PLM)
·        Supplier Relationship Management (SRM)
ERP-Lease or Buy?
การที่องค์กรนั้นจะตัดสินใจที่จะซื้อหรือพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาใช้นั้น ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ระบบดังกล่าวมากน้อยแค่ไหน มีทรัพยากรเพียงพอหรือไม่ รวมทั้งปัจจัยอื่นๆ ดังนั้นหากองค์กรใดที่ไม่มีความจำเป็นนั้นก็อาจพัฒนาซอฟท์แวร์ขึ้นมาใช้งานเองได้ แต่หากองค์กรดังกล่าวมีความจำเป็นมากก็อาจทำการซื้อหรือเช่าจาก Application Service Providers (ASP) ก็ได้

Wednesday 19 January 2011

IT Learning Journal Week9: 19/01/11

Data Management (Cont.)
Data Warehouse Process ประกอบด้วย
1.       รวบรวมและคัดเลือกข้อมูลจากภายในองค์กรและภายนอกองค์กร(Operational Data +External Data) เพื่อสร้าง meta data ซึ่งเป็นข้อมูลของข้อมูลที่ช่วยให้อธิบายข้อมูล
2.       Data Staging(ECTL) คือการคัดเลือกข้อมูลที่ต้องการใช้จาก Database มาเก็บไว้ใน Data Cube  โดยประกอบด้วย
·        Extract การคัดเลือกข้อมูลที่ต้องการ
·        Clean แก้ปัญหาข้อมูลไม่สม่ำเสมอหรือซ้ำซ้อน
·        Transform การแปลงสภาพข้อมูลให้อยู่ในสภาพที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้
·        Load การโหลดข้อมูลที่ได้ลงใน data cube
3.       Data Warehouse Business Subject การสร้าง Data warehouse โดยคำนึงถึงมุมมองของ Business Subject
4.       Business View
5.       Information Catalog
Data Mart
คือ Data warehouse ขนาดเล็กซึ่งสร้างขึ้นเพื่อการใช้งานภายในแผนกหนึ่งๆขององค์กร โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1.       Replicated Data Mart พบมากที่สุด โดยมี data warehouse ในส่วนของ Enterprise มาก่อน และแต่ละแผนกก็มี data mart เป็ยของตนเอง
2.       Stand – alone data marts  องค์กรไม่พร้อมทำ enterprise data warehouse แต่ละแผนกเลยสร้าง data mart ของของตนเองเพื่อใช้งาน
Data Cube (OLAP)
คือ ฐานข้อมูลที่มีหลายมิติ(Multi Dimensional Database) ซึ่งช่วยเพิ่มความรวดเร็วของการ
·        Queries การสอบถามหรือตั้งคำถามกับระบบ
·        Slice & dice of Information
·        Roll up
·        Drill down การลงรายละเอียดข้อมูล
Business Intelligence
คือ การรวมเครื่องมือในการทำงานต่างๆ เช่น ฐานข้อมูล application และวิธีการ เพื่อทำให้สามารถที่จะจัดการข้อมูลได้ดี และพร้อมที่จะนำเสนอข้อมูลต่อผู้บริหารเพื่อสามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
·        ตัวอย่าง BI Function and Feature
1.       Dashboard เป็นการนำเสนอผลการดำเนินงานในรูปแบบกราฟ โดยแบ่งเป็น 3 ลักษณะ
o   Operational dashboards
o   Tactical dashboards
o   Strategic dashboards
2.       Balance scorecard เป็นการวัด performance ขององค์กร ผ่านมุมมอง 4 ด้าน คือ ด้านการเงิน ด้านกระบวนการภายใน ด้านการเรียนรู้และเติบโต และด้านลูกค้า

Online Analytical Processing (OLTP)
เป็นประเภทของซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้ผู้บริหารสามารถเข้าถึงข้อมูลในมุมมองเชิงลึกอย่างรวดเร็ว consistent และ interactive โดยสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอข้อมูลตามความต้องการของผู้บริหาร
Data Mining
เป็นการ extract ข้อมูลที่ไม่เคยทราบมาก่อนจาก database ขนาดใหญ่เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ โดยต้องทำกับข้อมูลที่มีจำนวนมากถึงแสนหรือล้าน record ซึ่งประโยชน์ของ Data Mining ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าจะสามารถตีความข้อมูลที่นำเสนอได้มากแค่ไหน
·        Mining Process  เป็นรวบรวมข้อมูลจากที่ต่างๆ ทั้ง Warehouse และแหล่งอื่นๆ และผ่านกระบวนการ ECTLและ Mining เพื่อวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล  
·        Yield from Data Mining
o   Clustering  การจัดกลุ่มข้อมูล โดยใช้ความสัมพันธ์ของตัวข้อมูลเอง
o   Classification การจำแนกข้อมูล โดยผู้ใช้เป็นผู้กำหนดเกณฑ์ในการจำแนก
o   Association ดูผลกระทบของข้อมูลกลุ่มหนึ่งต่อข้อมูลอีกกลุ่มหนึ่ง
o   Sequence discovery
o   Prediction

Text Mining
เป็นการ mining ข้อมูลที่มีรูปแบบแบบ Non-structured หรือ ข้อมูลที่ไม่มีรูปแบบชัดเจน ไม่สามารถคำนวณได้ เช่น ความคิดเห็นของลูกค้า ซึ่งเครื่องมือนี้จะช่วยในการหา hidden content จากข้อมูลที่ไม่มีรูปแบบ และจับกลุ่มข้อมูลที่มีลักษณะเดียวกันเข้าด้วยกัน

Wednesday 12 January 2011

IT Lerning Journal Week8 : 12/01/2011

Data Management
องค์ประกอบของระบบ
·         ต้องมี input เข้าผ่าน process เพื่อให้ได้ output
·         ต้องมีการวัตถุประสงค์ของระบบ
·         มีการระบุส่วนประกอบของระบบ
·         มีการระบุ ขอบเขต การควบคุม  feedback และ environment
·         Output ที่ได้จาก IS นั้นคือ สารสนเทศ โดย Output จะเป็นอย่างไรขึ้นกับวัตถุประสงค์และ input ที่ใส่เข้าไป
Data and Information
Data คือ ข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านกระบวนการต่างๆ ดังนั้น data จึงยังไม่นำไปใช้ประโยชน์ได้ ในขณะที่ Information นั้นเป็นผลลัพธ์ที่ได้จากการที่ data นั้นผ่านกระบวนการแล้ว ดังนั้นจึงเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ อย่างไรก็ตาม data และ information นั้นอาจมีหน้าตาที่คล้ายคลึงกัน เนื่องจาก process นั้นมีหลากหลายวิธี ดังนั้นการพิจารราว่าเป็นdata หรือ information นั้นจึงดูที่กระบวนการอย่างเดียวไม่ได้ เช่น ตัวอย่าง “วิชา AI613 เรียนวันจันทร์ 12+19 ม.ค. และ  1ก.พ.”จะเห็นได้ว่า ข้อความนี้จะเป็น data หรือ informationนั้น ขึ้นอยู่กับผู้ได้รับสารสามารถได้รับอรร๔ประโยชนืจากข้อความดังกล่าวหรือไม่ หากผู้รับสารได้รับประโยชนืจากข้อความดังกล่าว ข้อความนั้นก้จะถือว่าเป็น Information แต่หากไม่ใช่ข้อความดังกล่าวก็เป็นเพียง data
Information system
คือ ระบบที่ผลิตสารสนเทศ ซึ่งระบบสารสนเทศก็แตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ โดยระบบสารสนเทสนั้นต้องมีการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆและข้อมูลดังกล่าวนั้นจะถูกนำไปประมวลผลหรือวิเคราะหื เพื่อให้ได้สารสนเทศและนำเสนอแก่ผู้ใช้ หลังจากข้อมูลดังกล่าวได้มีการประมวลผลแล้วจะถุกจัดเก็บบันทึกข้อมูลไว้ใน database เพื่อใช้ในอนาคตต่อไป
·         องค์ประกอบของ IS
1.       Hardware
2.       Software
3.       Data
4.       Network
5.       Procedures
6.       People

·         IS สามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ
1.       แบ่งตาม funtional ภายในองค์กร เช่น ระบบสารสนเทศทางบัญชี ระบบสารสนเทศทางการตลาด เป็นต้น
2.       แบ่งตามระดับผู้ใช้
a.       Transaction system
b.      Information support System
c.       Executive System
·         ข้อมูลภายในนั้นมักเกิดขึ้นจาก transaction system ดังนั้นหัวใจสำคัญ คือการจัดการข้อมูลจากแหล่งกำเนิดดังกล่าว
Data Management
การบริหารข้อมูลนั้นเป็นเรื่องยาก เนื่องจาก
·         ข้อมูลมักกระจายตัวอยู่ทั่วองค์กร ทำให้ข้อมูลอาจเกิดความซ้ำซ้อน เนื่องจากไม่มีการสร้างและเก็บรวบรวมอย่างมีระบบ ไม่มีการควบคุม
·         ต้องมีการคำนึงถึงข้อมูลภายนอกด้วย โดยการตัดสินว่าข้อมูลดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลภายในหรือภายนอกนั้น ขึ้นอยู่กับความเป็นเจ้าของว่าเรานั้นสามารถที่จะ manage ข้อมูลดังกล่าวได้หรือไม่
·         ข้อมูลที่ดีต้องมี 3 ลักษณะ คือ security quality และ integrity
·         Data Management แบ่งเป็น
1.       Data profilling
2.       Data quality management
3.       Data integration
4.       Data augment

Data Life cycle process
1.       มีการเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่ๆจากหลายแหล่ง
2.       มีการจัดเก็บข้อมูลใน database และมีการ format data ใหม่เพื่อเก็บไว้ใน data warehouse เพื่อเอาไปใช้ในการวิเคราะห์ต่อไป

*      Operation process
·         Internal data มาจาก TPS โดยข้อมูลที่ได้นั้นจะถูกเก็บไว้ใน database
·         External data มาจากเวปหรือการซื้อ
·         Personal data คือข้อมูลที่บุคคลากรใช้ ซึ่งมักเกิดจากการที่ระบบ TPS นั้นไม่สามารถให้ output ใน format ที่เราต้องการ เช่น ระบบงานในไทยนั้นไม่สามารถรองรับได้ พนักงานเลยอาศัย excell ในการวิเคราะห์

*      Analytical process
·         เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น OLAP, EIS, DSS
·         ข้อมูลที่นำมาใช้วิเคราะห์นั้นอาจมาจากหลากหลาย database ซึ่งแต่ละ database นั้นก็มี application หรือ format ที่แตกต่างกัน
·         การดึงข้อมูลจาก database มาใช้งานนั้นอาจส่งผลกระทบต่อระบบ TPS ทำให้การทำงานใน routine นั้นล่าช้า เนื่องจาก database นั้น serve อยู่กับระบบ TPS
·         ดังนั้นองค์กรจึงอาจสร้าง datawarehouse ขึ้นเพื่อแยก Operation process และ Analytical processออกจากกัน
Datawarehouse
ไม่ใช่ database ขนาดใหญ่ แต่จะเป็นการ extract ข้อมูลบางส่วนมาจาก database เฉพาะข้อมูลที่ต้องการ โดยข้อมูลดังกล่าวนั้นจะถุกนำมาใช้ใน analytical process ต่อไป ทำให้ในการวิเคราะห์นั้นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องดึงข้อมูลจาก database โดยองค์กรที่ต้องมี data warehouse ต้องเป็นองคืกรที่ผู้บริหารต้องการตัดสินใจโดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูล

*      ลักษณะของ data warehouse
1.       Organization เอาข้อมูลมาจัด format โดยใช้ subject เช่น ลูกค้า สินค้า เป็นต้น
2.       Consistency ข้อมูลที่เข้ามานั้นมักไม่สม่ำเสมอ ดังนั้น data warehouse จึงต้องมีการแก้ข้อมูลให้มี consistency ใน warehouse
3.       Time variant ต้องการเก็บกี่ปี
4.       Non-volatile data ในwarehouse จะไม่มีการ update อีกแต่อาจมีการ refresh คือการเพิ่มข้อมูลเข้าไป
5.       Relational
6.       Client/server

*      องค์กรที่เหมาะกับการใช้ warehouse
1.       มีข้อมูลจำนวนมากที่ผู้ใช้ต้องการ
2.       Operation data ถุกเก็บในหลากหลายระบบ
3.       ผุ้บริหารต้องหารข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ
4.       ข้อมูลเรื่องเดียวกัน ถุกเก็บใน format ที่ต่างกัน